วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2552

ปีศาจแดงแมนยู จงเจริญ



















ประวัติ

สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (Manchester United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ มีสนามเหย้าคือโอลด์แทรฟฟอร์ดในเมืองแมนเชสเตอร์ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสโมสรหนึ่ง โดยชนะเลิศแชมป์ลีก 17 ครั้ง (เอฟเอ พรีเมียร์ลีก/ดิวิชัน 1) ชนะเอฟเอคัพ 11 ครั้ง ลีกคัพ 2 ครั้ง ยูโรเปี้ยนคัพ/ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก 3 ครั้ง และชนะ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์สคัพ อินเตอร์เนชันแนลคัพ และ ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ อย่างละ 1 ครั้ง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง โดยมีผู้สนับสนุนถึง 50 ล้านคนทั่วโลก โดยแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีสถิติผู้เข้าชมมากที่สุดในฟุตบอลอังกฤษตลอด 34 ฤดูกาล ยกเว้นในฤดูกาล 1987-89 ที่ปรับปรุงสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2534 สโมสรได้ดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดมหาชน อย่างไรก็ตาม ในปีพ.ศ. 2548
มัลคอล์ม เกลเซอร์ได้เทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตรเป็นผลสำเร็จ และนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน

ทีมงานประจำสโมสร
- เจ้าของสโมสร
– มัลคอล์ม เกลเซอร์
- ประธานสโมสรกิตติมศักดิ์
– มาร์ติน เอ็ดเวิร์ด

บริษัท แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จำกัด

- ประธานสโมสรร่วม – โจเอล เกลเซอร์และอาฟราม เกลเซอร์
- ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร – เดวิด กิลล์
- ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ- มิชาเอล โบลิ่งโบรค
- ผู้อำนวยการด้านการค้า – ริชาร์ด อาร์โนลด์
- ผู้อำนวยการบริหาร- เอ็ด วู้ดเวิร์ด
- ผู้อำนวยกา– ไบรอัน เกลเซอร์ / เควิน เกลเซอร์ / เอ็ดเวิร์ด เกลเซอร์ / ดาร์ซี่ เกลเซอร์

สโมสรฟุตบอล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด

- ผู้อำนวยการ – เดวิด กิลล์ / ไมเคิ่ล เอ็ดเดลสัน / เซอร์ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน / มัวริซ วัตกิ้นส์
- เลขานุการสโมสร – เคน แรมสเด้น
- ผู้ช่วยเลขานุการสโมสร – เคน เมอร์เรตต์- ทูต - ไบรอัน ร็อบสัน
ทีมผู้ฝึกสอนและแพทย์

- ผู้จัดการทีม – เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
- ผู้ช่วยผู้จัดการทีม – ไมค์ ฟีแลน
- ผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่ – เรเน่ มูเลนสทีน
- ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู – อีริค สตีล
- ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส – โทนี่ สตรั๊ดวิค
- ผู้ฝึกสอนด้านพละกำลังและสุขภาพ – มิกก์ เคลกก์
- หัวหน้าวิทยาศาสตร์การกีฬา - ดร.ริชาร์ด ฮอว์กินส์
- ผู้จัดการทีมสำรอง – โอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์
- ผู้ฝึกสอนทีมสำรอง – วอร์เรน จอยซ์
- หัวหน้าแมวมอง - จิม ลอว์เลอร์
- หัวหน้าแมวมองภาคพื้นยุโรป – มาร์ติน เฟอร์กูสัน
- ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเยาวชน – ไบรอัน แมคแคลร์
- ผู้อำนวยการฟุตบอลเยาวชน – จิมมี่ ไรอัน
- แพทย์ประจำสโมสร – ดร.สตีฟ แมคนัลลี่
- ผู้ช่วยแพทย์ประจำสโมสร – ดร.โทนี่ กิลล์
- นักกายภาพบำบัดทีมชุดใหญ่ – ร็อบ สไวร์ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

เบอร์ ตำแหน่ง รายชื่อ

1 Netherlands GK เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ ซาร์

2 อังกฤษ DF แกรี่ เนวิลล์ (กัปตัน)

3 ฝรั่งเศส DF ปาทริซ เอวรา

4 อังกฤษ MF โอเว่น ฮาร์กรีฟส์

5 อังกฤษ DF ริโอ เฟอร์ดินานด์

6 อังกฤษ DF เวส บราวน์

7 โปรตุเกส MF คริสเตียโน่ โรนัลโด้

8 บราซิล MF แอนเดอร์สัน

9 บัลแกเรีย FW ดิมิทาร์ เบอร์บาตอฟ

10 อังกฤษ FW เวย์น รูนีย์

11 เวลส์ MF ไรอัน กิ๊กส์ (รองกัปตัน)

12 อังกฤษ GK เบน ฟอสเตอร์

13 เกาหลีใต้ MF พาร์ค ชี-ซอง

14เซอร์เบีย MF โซรัน โทซิช

15 เซอร์เบีย DF เนมานยา วิดิช

16 อังกฤษ MF ไมเคิล คาร์ริค

17 โปรตุเกส MF นานี่

18 อังกฤษ MF พอล สโคลส์

19 อังกฤษ FW แดนนี่ เวลเบ็ค

20 บราซิล DF ฟาบิโอ ดา ซิลวา
21 บราซิล DF ราฟาเอล ดา ซิลวา

22 Ireland DF จอห์น โอเชีย

23 ไอร์แลนด์เหนือ DF โจนาธาน อีแวนส์

24 สกอตแลนด์ MF ดาร์เรน เฟล็ทเชอร์

28 Ireland MF ดาร์รอน กิ๊บสัน

29 โปแลนด์ GK โทมัส คุสแซ็ค

32 อาร์เจนตินา MF คาร์ลอส เตเบซ

34 บราซิล FW โรดริโก้ พอสเซบอน

การเมืองไทย

จากเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ดำเนินติดต่อกันมาหลายเดือน โดยมีทั้งกลุ่มผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว ทั้งนี้ ได้มีนักเรียน นิสิต นักศึกษาบางส่วนที่ให้ความสนใจและเข้าร่วมแสดงความเห็นทางการเมืองในรูป
แบบต่างๆ เช่นมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ Young PAD (Young People's Alliance for Democracy) เพื่อออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออนาคตการเมืองไทยและวิถีการเรียนของเยาวชนเหล่านี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “เยาวชนคิดอย่างไรกับการเมืองไทยในปัจจุบัน” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 15-25 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 917 คน เมื่อวันที่ 13-14 กันยายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้1. ความสนใจต่อเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
- สนใจมาก ร้อยละ 21.8
-สนใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 48.9
- ไม่ค่อยสนใจ ร้อยละ 25.6
- ไม่สนใจเลย ร้อยละ 3.7 2.
-ความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น - เป็นห่วงมาก ร้อยละ 32.0
- เป็นห่วงค่อนข้างมาก ร้อยละ 48.7
- ไม่ค่อยเป็นห่วง ร้อยละ 16.8
- ไม่เป็นห่วงเลย ร้อยละ 2.5 3.
-ความเห็นต่อการเข้าร่วมชุมนุมและเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักเรียน/นิสิต/นักศึกษาในขณะนี้ พบว่า- เห็นด้วย ...............................................ร้อยละ 46.3
โดยให้เหตุผลว่า
- เยาวชนคือกำลังสำคัญของชาติ ควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อบ้านเมือง
- เป็นสิทธิอันชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย
- เพื่อเป็นการสะท้อนมุมมองของเยาวชนให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้รับรู้
- และ เยาวชนเป็นพลังบริสุทธิ์ ฯลฯ- ไม่เห็นด้วย..............................................ร้อยละ 51.6 โดยให้เหตุผลว่า
- เป็นเรื่องล่อแหลมและอันตรายเกินไป
- อาจตกเป็นเครื่องมือของคนบางกลุ่มโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
- ควรเอาเวลามาเรียนหนังสือดีกว่า
- เสียภาพลักษณ์นิสิตนักศึกษา
- และ ทำให้บ้านเมืองวุ่นวายมากขึ้น ฯลฯ
- ไม่มีความเห็น............................................ร้อยละ 2.14.
จากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน ทางออกที่เหมาะสมที่สุดในความเห็นของเยาวชน คือ
- ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 43.1
- ให้พันธมิตรฯ ยุติการชุมนุม ร้อยละ 24.6
- จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ร้อยละ 14.8
- ทำรัฐประหาร ร้อยละ 3.6
- ให้ 5 พรรคร่วมรัฐบาลบริหารประเทศต่อไป ร้อยละ 4.5
- อื่นๆ เช่น ให้นายกรัฐมนตรีลาออก ร้อยละ 9.4 5.

สิ่งที่อยากฝากถึงเพื่อนๆ นักเรียน/นิสิต/นักศึกษาที่ไปร่วมชุมนุม คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ไม่ควรเข้าไปร่วมการชุมนุม ควรปล่อยให้เป็นเรื่องของผู้ใหญ่....ร้อยละ 38.7
- ขอให้เข้มแข็งอดทนสู้ต่อไป จะเป็นกำลังใจให้.......................ร้อยละ 33.7
- ให้ใจเย็น ชุมนุมอย่างสงบ ใช้สติ อย่าใช้ความรุนแรง ................ร้อยละ 23.8
- อื่นๆ เช่น เป็นสิทธิในการแสดงความเห็น ไม่ควรใช้คำหยาบคาย
- อย่ากระทำการใดที่ทำให้สถาบันเสียชื่อเสียง ฯลฯ....................ร้อยละ 3.86.
สิ่งที่อยากฝากถึง 5 พรรคร่วมรัฐบาล คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ควรรับฟังความเห็นของประชาชน และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก...ร้อยละ 35.9
- เป็นกำลังใจให้รัฐบาลอดทน สู้ และบริหารประเทศต่อไป...............ร้อยละ 13.9
- หานายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่มีความเหมาะสม .........................ร้อยละ 12.8
- ให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส หยุดคอร์รัปชั่นโกงกิน..............ร้อยละ 9.9
- ให้เสียสละยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่.............................. ร้อยละ 9.2
- ให้ใช้ความประนีประนอม อย่าใช้ความรุนแรงเข้าแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาด....ร้อยละ 4.2
- ให้ใช้วิธีการทางกฎหมายมาดำเนินการเพื่อยุติปัญหา...................ร้อยละ 1.9
- อื่นๆ เช่น อย่างสร้างประเด็นปัญหาเพิ่ม อย่ายึดติดกับอำนาจ
อย่าปิดกั้นการแสดงความคิดของนักศึกษา ฯลฯ ......................ร้อยละ 12.27.
สิ่งที่อยากฝากถึงฝ่ายพันธมิตรฯ คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
- ให้ยุติการชุมนุม...........................................................ร้อยละ 35.1
-ทำถูกต้องแล้ว ขอให้สู้ต่อไป จะเป็นกำลังใจให้..........................ร้อยละ 20.0
- ขอให้ชุมนุมอย่างสงบภายใต้กฎหมาย อย่าใช้ความรุนแรงและสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่ส่วนร่วม............................ร้อยละ 18.4
- ขอให้ถอยคนละก้าว หันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ปัญหาบ้านเมือง โดยใช้เหตุผลมากกว่าใช้อารมณ์ ....................................ร้อยละ 13.3
- อย่าตั้งข้อเรียกร้องสูงเกินไป อย่ายึดความเห็นของตนเองจนไม่ฟังคนอื่น........ร้อยละ 6.5
- เห็นด้วยกับอุดมการณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่ใช้
น่าจะมีวิธีที่ดีกว่านี้ในการเรียกร้องโดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับส่วนรวม.....ร้อยละ 3.0
- อื่นๆ เช่น อย่าใช้ถ้อยคำรุนแรงหยาบคาย

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

การจัดกิจกรรมประสบการณ์แบบบูณณาการ

การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์สำหรับระเด็กก่อนประถมศึกษานั้น จะจัดทำในรูปแบบของการบูรณาการโดยผสมผสานกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม และสอดแทรกเนื้อหาที่ตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็กเหมาะสมกับวัยและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาความพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา แต่โดยส่วนใหญ่ครูจะจัดกิจกรรมตามแผนจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ตลอดจนครูไม่มีความมั่นใจในการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการขึ้นใหม่ ทำให้การจัดประสบการที่เกิดขึ้นจริงไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม


การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ
การจัดประสบการณ์ที่นำเอาสาระ-การเรียนรู้มาเชื่อมโยงผสมผสานกันอย่างมีความหมาย เน้นการพัฒนาโดยองค์รวมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา ครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้ง คุณธรรมจริยธรรมควบคู่กันไป
2. เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่าง บุคคล เด็กได้ร่วมกำหนดกิจกรรมการ เรียนรู้ ได้เลือกทำกิจกรรมที่สอดคล้อง กับความสนใจ และพัฒนาการของตน
3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาแบบองค์รวม ทั้งสาระการเรียนรู้ ทักษะ และ ประสบการณ์สำคัญ ช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการจำและการแก้ปัญหาทำให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

กิจกรรมประจำวัน
กิจกรรมเสรี
กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอิสระตามมุมเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ในห้องเรียน เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรีตามความสนใจและความต้องการของเด็ก

กิจกรรมสร้างสรรค์
กิจกรรมที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึกความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ และจินตนาการโดยใช้ศิลปะ

กิจกรรเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ โดยใช้เสียงดนตรี เพลง คำคล้องจอง ประกอบการเคลื่อนไหว
รูปแบบการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวพื้นฐาน
การเลียนแบบ
การเคลื่อนไหวตามบทเพลง
การทำกายบริหารประกอบเพลง
การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์
การแสดงท่าทางตามคำบรรยาย
การปฏิบัติตามข้อตกลง
การฝึกท่าทางเป็นผู้นำผู้ตาม

กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมที่มุ่งให้เด็กได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ ฝึกการทำงานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ ให้เด็กได้มีโอกาสฟัง พูด สังเกต คิดแก้ปัญหาใช้เหตุผล และฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน
วิธีการจัดเสริมประสบการณ์
การสนทนา อภิปราย
การเล่านิทาน
การสาธิต
การทดลอง
การศึกษานอกสถานที่
บทบาทสมมติ
การร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง

กิจกรรมกลางแจ้ง
กิจกรรมที่จัดให้เด็กมีโอกาสไปนอกห้องเรียน เพื่อออกกำลังกายเคลื่อนไหวร่างกาย และแสดงออกอย่างอิสระ
การเล่นเครื่องเล่นสนาม
การเล่นทราย
การเล่นน้ำ
การเล่นสมมติในบ้านจำลอง
การเล่นในมุมช่างไม้
การเล่นกับอุปกรณ์กีฬา
การเล่นเกมการละเล่น



เกมการศึกษา
การเล่นเกมที่ช่วยพัฒนาสติปัญญา เป็นเกมที่มีกติกาง่ายๆ เด็กสามารถเล่นคนเดียว หรือเล่นเป็นกลุ่มได้ ช่วยให้เด็กรู้จักสังเกต คิดหาเหตุผล และเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสี รูปร่าง จำนวน ประเภทและความ สัมพันธ์เกี่ยวกับพื้นที่/ระยะ